วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของความรู้

พจนานุกรมทางการศึกษา (Carter V. Good 1973:325) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าความรู้เป็นข้อเท็จจริง (Facts) ความจริง (Truth) กฎเกณฑ์และข้อมูลต่างๆที่มนุษย์ได้รับและรวบรวมสะสมไว้จากมวลประสบการณ์ต่างๆ
พจนานุกรม The Lexiticon Webster (Dictionary Encyclopedia Edition 1,1977:531) ได้ให้คำจำกัดความ “ ความรู้” เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์และโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหรือเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับสถานที่ สิ่งของ หรือบุคคล ซึ่งได้จากการสังเกตุ ประสบการณ์ หรือรายงาน การรับรู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ต้องชัดเจนและต้องอาศัยเวลา
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2530:130) ได้ให้ความหมายความของ “ความรู้” ไว้ว่า ความรู้เป็นพฤติกรรมเบื้องต้นที่ผู้เรียนสามารถจำได้ หรือระลึกได้โดยการมองเห็น ได้ยิน ความรู้ในขั้นนี้ คือ ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ คำจำกัดความ เป็นต้น
เธียรศรี วิวิธศิริ (2527:19-20) กล่าวว่า การเรียนรู้ในผู้ใหญ่เกิดจากการประสบการณ์ 3 ประการ คือ
1. การเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ทางธรรมชาติ (NATURAL STEELING) คือ เรียนรู้จากสภาพธรรมชาติที่อยู่ใกล้ๆตัว
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางสังคม (SOCIETY SETTING) มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น
3. การเรียนรู้จากสภาพการณ์การของการจัดการเรียนการสอน (FORMAL INSTRUCTIONAL SETTING) คือมีผู้แทนจากสถาบันจัดระดับการเรียนรู้มีจุดหมายและต่อเนื่อง
จากความหมายดังกล่าว ความรู้ หมายถึง การรับรู้ข้อเท็จจริง (Facts) ความจริง (Truth) กฎเกณฑ์ และข้อมูลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการศึกษา จากรายงาน ซึ่งพฤติกรรมเบื้องต้นที่ผู้เรียนสามารถจำได้ ระลึกได้โดยได้ยิน การมองเห็น การสังเกต หรือจากประสบการณ์ทางธรรมชาติ (NATURAL SETTING) คือ เรียนรู้จากสภาพธรรมชาติที่อยู่ใกล้ๆตัว การเรียนรู้จากสังคม (SOCIETY SETTING) เช่น จากการอ่านหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หรือจากการเรียนการสอน (FORMAL INSTRUCTIONAL SETTING) คือ มีผู้แทนจากสถาบันจัดลำดับการเรียนรู้อย่างมีจุดหมายและต่อเนื่อง เป็นต้น

สังคมศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่มุ่งศึกษา พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งด้านจิตใจและ.วัฒนธรรม หรือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ พฤติกรรม ปรากฏการณ์ หรือปฏิกิริยา ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์และสังคม เพื่อให้ทราบถึงความรู้และความจริงที่จะนำมาแก้ไขปัญหาของสังคม หรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และพัฒนาคนให้มีความรู้ ครูฉลาดทางอารมณ์ มีบุคลิกนิสัย และจิตสำนึกที่ดีเพื่อสามารถไปพัฒนาตัวเองให้ใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความสุข แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย สังคมวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองแบบอารยชน ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ หมายถึง ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในรูปปัจเจกบุคคลและพฤติกรรมกลุ่มในสังคม ได้แก่สาขารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา บริหารศาสตร์ ประชากรศาสตร์ บัญชี นิเวศวิทยา และด้านสังคมศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ เป็นต้น
สังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในรูปปัจเจกบุคคลและพฤติกรรมกลุ่มในสังคม มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ไม่สามารถนิยามสิ่งที่วัดได้ชัดเจน สิ่งที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบมีความเที่ยงตรงต่ำ โดยเฉพาะมนุษย์ใช้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการวัด ผลการศึกษาจึงมีอคติร่วมด้วย ทำให้ผลที่ได้มีความเป็นอัตนัยสูง ทำให้การวัดขาดความแม่นยำ ผลการวัดเป็นคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ต้องพยายามตีค่าออกมาเป็นเชิงปริมาณ เพื่อให้ข้อสรุปทั่วไปและขาดสาระสำคัญเชิงปัจเจกบุคคลไป การตัดสินค่าและการแปลความหมายจึงไม่เที่ยงแม่นยำเท่ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นรู้เฉพาะกรณีที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้ระดับหนึ่ง

มนุษยศาสตร์ หรือ Humanity หมายถึง กระบวนการศึกษาความคิด ความอ่านของมนุษย์ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อาทิ ด้านภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ ปรัชญา วรรณคดี โบราณคดีประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย รวมถึงสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมา สั่งสมกันมาและสืบทอดกันต่อๆมาอีกด้วย

มนุษย์ศาสตร์การศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ในรูปปัจเจกบุคคล ได้แก่มนุษยวิทยา ปรัชญา คณิตศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ ดนตรี ภาษา ศาสตร์สาขาประยุกต์ บรรณารักษ์ศาสตร์ นิเทศศาสตร์
มนุษย์ศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ในรูปปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถนิยามสิ่งที่วัดได้ชัดเจน สิ่งที่ศึกษาเกิดจากแรงบันดาลใจ เป็นการคิดสร้างสรรค์เฉพาะเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่สามารถสร้างเป็นกฎเกณฑ์ พิสูจน์ได้เหมือนวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคือ ภาษา ใช้เพื่อการวิเคราะห์วิพากษ์ ผลการวัดตีค่าออกมาเป็นเชิงปริมาณไม่ได้ การพยายมทำให้เป็นปริมาณทำให้สาระสำคัญในเชิงคุณค่าของมนุษย์หมดไป การตัดสินค่าและการแปลความหมายเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นความรู้เชิงสร้างสรรค์มิใช่สิ่งทั่วไป
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างมีระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์จะนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ความหมายของวิทยาศาสตร์จากการที่มีผู้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้หลากหลายสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ คือ 1. จากความหมายของรากศัพท์ของวิทยาศาสตร์ จากภาษาลาติน หมายถึง องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน 2. จากการวิเคราะห์ประวัติการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวความรู้ของธรรมชาติที่ค้นพบกับส่วนที่เป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นมา 3. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ จะมี 3 ประเด็น คือ 3.1 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ 3.2 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ธรรมชาติ 3.3 มองวิทยาศาสตร์เป็นทั้งองค์ความรู้ของธรรมชาติ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ 4. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็น 2 มิติ ควบคู่กันไป คือ มิติทางด้านองค์ความรู้ของธรรมชาติ และ มิติทางด้านกระบวนการที่ใช้สืบเสาะหาความรู้นั้น



รู้รอบด้านเชิงสหวิทยาการ

ความรู้รอบด้านในเชิงสหวิทยาการคือความสามารถที่จะประยุกต์ใช้และบูรณาการความรู้จากศาสตร์สาขาต่าง ๆ เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดผลผลิต ตลอดจนการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ในสังคมอีกด้วย

รู้รอบด้านเชิงสหวิทยาการ หมายถึง ผู้ที่สามารถรู้ลึกในแก่นสาระของวิชาการ มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาหลักหรือสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญ และรวมถึงการมีความรอบรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์และสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของชุมชน สังคมและโลกได้อย่างเท่าทัน โดยการรู้รอบนี้อยู่ในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ การทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลนั้น ๆ

ในอนาคตการที่สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ คนแสวงหาความรู้มากขึ้น การศึกษาเรียนรู้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกคน การทำให้คนไทยมีความรู้รอบด้านจะช่วยส่งเสริมการ
พัฒนาสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้นั้น คนที่พึงประสงค์ในอนาคตจึงควรมีความรอบรู้
รู้กว้างในเชิงสหวิทยาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น